วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558


การนอนในอิสลาม




วิธีการนอนและตื่นนอน
                 จากการศึกษาวิธีการนอนและการตื่นนอนของท่านนบี  พบว่า ท่านนบี  เป็นผู้ที่นอนอย่างพอเพียงซึ่งจะมีประโยชน์ต่อร่างกายและอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ท่านจะนอนในช่วงหัวค่ำและตื่นในช่วงดึกๆ ครึ่งที่สองของกลางคืน (คือ เลยเที่ยงคืนไปแล้ว : ผู้แปล) ท่านจะลุกขึ้นมาถูฟันและละหมาดสุนัตตอนกลางคืนเท่าที่อัลลอฮฺ กำหนดไว้ การกระทำเช่นนี้ทำให้ร่างกายและอวัยวะต่างๆ ได้พักผ่อน สะสมกำลังจนเพียงพอและแข็งแรงขึ้นจากการนอน หลังจากนั้นจึงเป็นการออกกำลังกายที่ให้ผลบุญด้วยการละหมาด เหล่านี้คือจุดมุ่งหมายที่จะให้ประโยชน์ต่อทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
 ท่านนบี  จะไม่นอนนานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และท่านจะไม่ฝืนความต้องการของร่างกายเมื่อต้องการจะนอน  ท่านจะทำตามที่ร่างกายต้องการอย่างเต็มที่ โดยนอนเมื่อร่างกายต้องการ กล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺจนกว่านัยน์ตาสองข้างจะหลับลง ไม่ทำให้กระเพาะมีอาหารหรือเครื่องดื่มแน่นเกินไปเวลานอน ไม่นอนลงไปบนพื้นดินโดยไม่มีอะไรรองรับ และไม่นอนบนที่นอนที่สูงเกินไป แต่จะนอนบนที่นอนที่ยัดไส้ด้วยใบไม้ ท่านจะนอนหนุนหมอนและเอามือเข้าไปซุกในหมอนเป็นบางครั้ง
ความประเสริฐของการนอน ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากการนอน และโทษของมัน
           การนอนเป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา เกิดจากการหยุดทำงานของพลังงานความร้อนภายในร่างกายเรา เพื่อพักผ่อน มีอยู่ 2 ชนิด คือ ตามปกติธรรมชาติและไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
          การนอนตามปกติธรรมชาติ คือ การหยุดทำงานของพลังจิตในตัวเราอันได้แก่ พลังความรู้สึกสัมผัส พลังการเคลื่อนไหวตามที่ร่างกายสั่ง เมื่อพลังเหล่านี้หยุดลงร่างกายก็จะหยุดทำงานลงไปทันที ความชื้นกับไอน้ำก็จะรวมตัวกันขึ้นหลังจากที่ต้องแยกจากกันเพราะการเคลื่อนไหวของร่างกายและความตื่น แล้วไปรวมกันอยู่ในสมองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังงานเหล่านี้ สมองจึงมึนชาลง อ่อนแอลง ซึมลงและไม่รับรู้หรือหลับไปในที่สุด นี่คือการนอนที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมชาติทั่วไป
         

 ส่วนการนอนที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ การนอนเนื่องจากป่วยไข้ หรือ เกิดจากอุบัติเหตุ การนอนแบบนี้พลังความชื้นจะเข้าไปควบคุมสมองจนทำให้ไม่สามารถตื่นขึ้นมารับรู้หรือแยกแยะอะไรได้อีกเหมือนเดิม หรือไอน้ำและความชื้นเกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่นที่เกิดขึ้นหลังจากการดื่มกินอาหารจนแน่นท้องใหม่ๆ สมองจะหนักและอ่อนแอลง พลังจิตก็จะถูกจำกัดไม่ให้ทำงานได้ตามปกติ
 การนอนมีประโยชน์อยู่ 2 อย่างที่ดีมากคือ
 1) ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หยุดพักการทำงานลงไป ทำให้เกิดการพักผ่อนจากการตรากตรำงานจนเหนื่อยล้า ประสาทความรู้สึกก็ได้พักผ่อนจากการตรากตรำงานเวลาที่ตื่นอยู่ ทำให้ความเหนื่อยล้า และความอ่อนเพลียต่างๆ หายไป
     2) การช่อยย่อยอาหาร (การเผาผลาญพลังงาน ผู้เรียบเรียง) ทำให้ส่วนผสมที่อยู่ข้างในนั้นสุกสมบูรณ์ เนื่องจากธาตุความร้อนของร่างกายในขณะนอนหลับ จะหลบเข้าไปอยู่ในช่องท้อง ทำให้ลักษณะภายนอกดูเย็นลง ด้วยเหตุนี้คนนอนหลับจึงควรที่จะห่มผ้าไว้ด้วย เพื่อป้องกันความเย็นเกินไปจากภายนอกนั่นเอง
การนอนในกลางวันนั้นมี 3 แบบ คือ การนอนเพื่อการสร้าง การนอนเพื่อทำลาย และการนอนที่โง่เขลา
- การนอนเพื่อการสร้างคือการนอนในช่วงเที่ยงวัน
- การนอนเพื่อทำลายคือการนอนในช่วงสายๆ ซึ่งเป็นเวลาที่คนส่วนมากยุ่งอยู่กับการทำงานของโลกนี้และโลกหน้า
- การนอนที่โง่เขลาคือการนอนในเวลาเย็นใกล้ค่ำ พวกชาวสลัฟบางคนกล่าวว่า ผู้ใดนอนในเวลาใกล้ค่ำจะทำให้สติปัญญาของเขาด้อยลง ดังนั้นไม่ต้องโทษใครนอกจากตัวของเขาเอง




เส้นทางที่เที่ยงตรง


เรื่อง การเชิญชวนผู้คนสู่หลักอิสลาม (ดะวะห์) 
 
ความหมายที่แท้จริงของดะวะห์ 
คำว่า ( الدعوة ) อัดดะวะห์ ( การเรียกร้อง การเชิญชวน ) ในทางภาษา คือ การแสวงหาความต้องการ และการเรียกร้องสู่สิ่งหนึ่ง คือ ส่งเสริมเขาให้อยู่กับเป้าหมายของเขา เช่น เรียกร้องเขาสู่การสงครามเรียกร้องเขาสู่การละหมาด คำว่าดะวะฮฺมีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันหลายคำ ในที่นี้ขอมาเพียงสองคำซึ่งใช้กันหลายในหมู่นักวิชาการ
 
 (1) คำว่า تبليغ (ตับลีฆ) มีความหมายว่าการนำไปถึง นำไปบอกซึ่งก็หมายถึงการเผยแผ่นั่นเอง ผู้ทำการเผยแผ่เรียกว่า مبلغและคณะผู้ทำหน้าที่เผยแผ่เรียกว่า جماعة التبليغ คำนี้มีปรากฏมากมายในอัล-กรุอ่าน และใช้กันแพร่หลายในหมู่มุสลิม สำหรับความแตกต่างระหว่าง ดะวะฮฺ” กับ ตับลีฆ” นั้นมีปราชญ์บางคนให้ทัศนะว่าคำ ดะวะฮฺ” มีความหมายกว้างกว่าคำ ตับลีฆ” กล่าวคือ คำว่าดะวะฮฺ” หมายถึงการประกาศและเผยแพร่อิสลามโดยทั่วไป ส่วนคำว่า ตับลีฆ” หมายถึงการเผยแพร่อิสลามโดยเข้าถึงตัวบุคคล
 
(2) คำว่า حسبة (หิสบะฮฺ) คำว่า หิสบะฮฺ” มีความหมายตามหลักวิชาการว่า การใช้กันทำความดีและปรามจากความชั่ว ผู้ทำหน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า محتسب” คำนี้ใช้กับผู้ที่ได้การมอบหมายจากฝ่ายปกครองให้ทำหน้าที่ดังกล่าว
ในการให้คำจำกัดความนั้น จะหมายถึง การงานที่เผยแผ่อิสลามแก่มวลมนุษย์ทั้งหมด อันประกอบไปด้วย ความเชื่อมั่น,ศรัทธา บทบัญญัติ จรรยามารยาท การปฏิบัติต่างๆและการกระทำในทุกกิจการของชีวิตในทุกสมัย ทุกขณะ การลุกขึ้นพร้อมกับการเรียกร้องสู่การบรรลุสู่ดังกล่าว ด้วยแนวทาง วิธีการ สื่อ เส้นทางต่างๆที่รวบรวมไว้ในดำรัสของอัลลอห์ ตะอาลาที่ ตรัสว่า
ความว่า ท่านจงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ด้วยวิทยปัญญา และคำตักเตือนที่ดีๆ และจงตอบโต้พวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ดีที่สุด” (ซูเราะห์ อันนะฮ์ลุ อายะห์ 125)






อะมานะฮ์ หนึ่งในคุณสมบัติของมุสลิมที่แท้จริง

อะมานะฮ์ คืออะไร ?
อะมานะฮ์ คือ การที่บุคคลหนึ่งต้องประพฤติปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบให้สมบูรณ์และดีที่สุด มีความบริสุทธิ์ใน ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อสิทธิหน้าที่ที่พึงมีต่อเพื่อนมนุษย์ให้ครบถ้วน
ความสำคัญของอะมานะฮ์
  อิสลามให้ความสำคัญต่อการรักษาสิทธิต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน บริบูรณ์ ไม่ว่าสิทธิที่พึงมีต่ออัลเลาะฮ์ ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และต่อภาระงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย  ซึ่งมวลมุสลิมทุกคนจักต้องมีความรู้สึกรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงานนั้นๆ
 อะมานะฮ ในทัศนะของอิสลามนั้น มีความผูกพันกับภาระหน้าที่ ที่เขาจะถูกสอบสวนต่อหน้าพระพักตร์ของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ดังฮาดิษบทหนึ่งที่กล่าวว่า :  พวกท่านทุกคนล้วนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ และต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของตน  ดังนั้น อีหม่าม (ผู้นำ) เป็นผู้ที่มีหน้าที่และถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่ของเขา ชายผู้หนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวของเขา และต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่ของเขา และสตรีนั้น นางมีหน้าที่รับผิดชอบในบ้านของสามี และต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่ของนาง  คนรับใช้มีหน้าที่รับผิดชอบในทรัพย์สินของเจ้านายและต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบ ในทรัพย์สินของเจ้านาย และต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่นั้น และท่านศาสดา (ซ.ล.)  ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า และชายคนหนึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในทรัพย์สินของบิดาและต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับหน้าที่ของเขา ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลายล้วนมีหน้าที่ และพวกเจ้าทั้งหลายล้วนต้องรับผิดชอบ เกี่ยวกับหน้าที่ของตนเอง  (บุคอรี)
อะมานะฮ์กฎบัตรที่มีผลต่อประชาคมโลก
   อันประชาคมพลโลกที่ไร้ซึ่งการไว้วางใจ (อะมานะฮ์) ขาดความรับผิดชอบคือ ประชาชาติที่ไร้กฎระเบียบ และละเลยต่อหน้าที่ มีความเห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อภาระหน้าที่ที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นบ่อเกิดแก่ผู้มีอำนาจ กดขี่ข่มเหงต่อผู้ที่ด้อยโอกาส ไร้ความสามารถ ดังมีฮาดิษบทหนึ่งที่บ่งชี้ถึงสิ่งดังกล่าวอันเป็นรหัสหนึ่งแห่งวันสิ้นโลกว่า  :   เล่าจากอบีฮุรอยเราะฮ์(ร.ด.) ว่า : ได้มี ชายคนหนึ่ง ได้ถามท่านศาสดา (ซ.ล.) ว่า เมื่อใดเล่าวันสิ้นโลกจะอุบัติขึ้นท่านศาสดา (ซ.ล.) ตอบว่า :   เมื่ออะมานะฮ์ถูกเพิกเฉย  ท่านจงรอคอยวันนั้นเถิด ชายผู้นั้นได้ถามต่อไปอีกว่า : อย่างไรเล่าที่อะมานะฮ์ถูกละเลยเพิกเฉย    ท่านศาสดา(ซ.ล.) ตอบว่า :  เมื่อเรื่องหนึ่งถูกมอบหมายไปยังผู้ที่ไม่เหมาะสม  ดังนั้นท่านจงรอวันนั้นเถิด   (บุคอรี)
อะมานะฮ์ดุจดั่งของฝากชั่วคราว
   สิ่งของต่างๆ ที่มนุษย์ดูแลนั้น  มันเป็นขอฝากชั่วคราวชั่วขณะหนึ่ง  ต่อมาสิ่งนั้นก็ถูกส่งคืนเจ้าของ  ขณะที่เขาต้องการ สิ่งของชิ้นนี้ คือ อะมานะฮ์ที่จะถูกสอบสวน ดังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยบรมศาสดา (ซ.ล.) ว่า ท่านได้แต่งตั้งอาลี บุตรอบีตอลิบ  เป็นตัวแทนท่านในขณะที่ท่านจะอพยพไปนครมาดีนะฮ์  เพื่อมอบสิ่งของที่ฝากไว้กับท่านคืนแก่พวกมุชรีกีน.

    ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตรมัสอู๊ด  (ร.ด.) ได้เล่าว่า :  การพลีชีพในหนทางของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)  จะลบล้างบาปทั้งหมด ยกเว้น อามานะฮฺ  ในวันกียามะฮฺ  บ่าวจะถูกนำมา แล้วมีผู้กล่าวกับเขาว่า  ท่านจงชดใช้อะมานะฮ์ของท่านเถิด  บ่าวคนนั้นก็กล่าวตอบว่า โอ้อัลเลาะฮ์ ฉันจะชดใช้อย่างไรเล่า  ในเมื่อฉันได้จากโลกดุนยามาแล้ว”  มีผู้กล่าวว่า จะนำเขาไปสู่ขุมนรกญะฮันนัม  โดยที่อามานะฮฺ ถูกแปลงรูปให้อยู่ในลักษณะที่เหมือนกับวันที่เขารับฝาก เมื่อเขาเห็นเขาก็รู้จักมัน ต่อมา อิบนูมัสอู๊ด ได้กล่าวว่า :  ละหมาด คือ อะมานะฮ์อาบน้ำละหมาด คือ อะมานะฮ์ทุกสิ่งทุกอย่างถูกนับว่าเป็น อะมานะฮ์ทั้งหมด  อะมานะฮ์ที่หนักยิ่งคือของฝาก